ทาวเวอร์เครน
ทาวเวอร์เครน
เป็นเครื่องจักรกลหนักที่นำมาใช้ในงานก่อสร้างอย่างเเพร่หลาย
ปัจจุบันมีการนำเข้าเครน จากหลากหลายเเหล่ง ทั้งเครนเก่าเเละเครนใหม่
หลากหลายยี่ห้อ เเละข้อกำหนดของกฎหมายบ้านเรา
ยังไม่มีการควบคุมเรื่องอายุการใช้งาน จึงยังคงพบเห็นทาวเวอร์เครน อายุเกือบ 40 ปี ถูกนำมาติดตั้งใช้งานอยู่ทั่วไป
ทาวเวอร์เครน ถือเป็นเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่ใช้สำหรับเคลื่อนย้ายวัสดุที่มีน้ำหนักมากและมีขนาดใหญ่เกินกว่าจะยกด้วยคนหรือเครื่องจักรประเภทอื่นๆ ซึ่งทาวเวอร์เครนจะมีแขนที่เคลื่อนที่ได้รอบๆพื้นที่ก่อสร้าง ทำให้สะดวกยิ่งขึ้น
ประเภทของทาวเวอร์เครน
1.แบบเคลื่อนที่บนรางเลื่อน
2.แบบยึดอยู่กับที่
3.แบบสามารถไต่ขึ้นไปตามความสูงของอาคารได้
2.แบบยึดอยู่กับที่
3.แบบสามารถไต่ขึ้นไปตามความสูงของอาคารได้
ทาวเวอร์เครนแบบต่างๆ
แบบบูมราบ(Hammerhead
Crane)
แบบกระดกบูม(Luffing
Jib Crane)
แบบติดตั้งอยู่กับที่(Stationary
Crane)
แบบติดตั้งในช่ิองเปิดอาคารหรือในช่องลิฟต์(Internal
Floor Crimbing)
แบบเดินราง(Travelling
Crane)
ทาวเวอร์เครนแบบ Self-Erectionty
ส่วนประกอบของทาวเวอร์เครน
1.ตัวเสาของทาว์เวอร์
ซึ่งเป็นส่วนที่รับน้ำหนักโครงสร้างของทาวเวอร์เครน
โดยประกอบขึ้นด้วยโครงถักเหล็กฉากรูปพรรณหรือเหล็กท่อกลม
ยึดรอยต่อด้วยสลักเกลียวกำลังสูง ซึ่งทำให้สะดวกในการประกอบและรื้อถอน
2.แขนยกวัสดุ ประกอบด้วยโครงถักเหล็กฉากรูปพรรณหรือเหล็กท่อกลม ยึดรอยต่อด้วยสลักเกลียวกำลังสูง เหมือนกับตัวเสาทาว์เวอร์ สามารถต่อได้ยาวตามจำนวนที่ต้องการยกน้ำหนักของวัสดุ ถ้าจะยกน้ำหนักได้มาก แขนจะสั้น ถ้ายกน้ำหนักปริมาณน้อยๆแขนสามารถยาวได้ ครอบคลุมรัศมีได้กว้างขึ้น
3.ตุ้มถ่วงน้ำหนัก จะเป็นก้อนคอนกรีตที่ทำหน้าที่ถ่วงน้ำหนักให้เกิดความสมดุลกับแขนยก ในขณะที่ทำการยกวัสดุ
4.หอควบคุม ถือว่าเป็นห้องสำหรับพนักงานขับเครนที่ใช้ทำหน้าที่บังคับสั่งการให้สายสลิงและรอกสำหรับการยกวัสดุ รวมไปถึงการเคลื่อนย้ายแขนยกวัสดุไปยังทิศทางต่างๆตามที่ต้องการ จะหมุนไปไหนก็ได้
2.แขนยกวัสดุ ประกอบด้วยโครงถักเหล็กฉากรูปพรรณหรือเหล็กท่อกลม ยึดรอยต่อด้วยสลักเกลียวกำลังสูง เหมือนกับตัวเสาทาว์เวอร์ สามารถต่อได้ยาวตามจำนวนที่ต้องการยกน้ำหนักของวัสดุ ถ้าจะยกน้ำหนักได้มาก แขนจะสั้น ถ้ายกน้ำหนักปริมาณน้อยๆแขนสามารถยาวได้ ครอบคลุมรัศมีได้กว้างขึ้น
3.ตุ้มถ่วงน้ำหนัก จะเป็นก้อนคอนกรีตที่ทำหน้าที่ถ่วงน้ำหนักให้เกิดความสมดุลกับแขนยก ในขณะที่ทำการยกวัสดุ
4.หอควบคุม ถือว่าเป็นห้องสำหรับพนักงานขับเครนที่ใช้ทำหน้าที่บังคับสั่งการให้สายสลิงและรอกสำหรับการยกวัสดุ รวมไปถึงการเคลื่อนย้ายแขนยกวัสดุไปยังทิศทางต่างๆตามที่ต้องการ จะหมุนไปไหนก็ได้
ซึ่ง 4 ส่วนประกอบหลักๆดั่งกล่าว
เป็นหัวใจหลักของทาวเวอร์เครนที่เรามักจะเห็นกันตามไซต์งานก่อสร้าง แต่ทุกครั้งที่จะประกอบทาวเวอร์เครน
พนักงานทุกคนต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านความปลอดภัยให้เคร่งครัด
มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยคอยควบคุมทุกขั้นตอน มีวิศวกรผู้เชี่ยวชาญคอยดูแล
แนวทางการตรวจสอบ
1.น๊อตยึดฐาน
ต้องขันแน่นไม่หลวมแนะนำให้ใช้วิธีขันปอนด์
2.เสาต่อ(Mast
Section) การประกอบน๊อตหรือสลัก(Pin) ต้องขันแน่นหรือสลักไม่คลายไม่ถอย ใส่ให้ครบทุกตำแหน่ง
3.บันได,ที่พักระหว่างเสา ต้องมั่นคง และมีที่พักเป็นช่วงตามคู่มือ
4.วงแหวนสวิง(Slewing
Ring) ต้องไม่ให้ตัว หรือให้ตัวได้ไม่มาก
สวิงแล้วไม่มีเสียงดัง น๊อตประกอบชุดวงแหวนสวิงต้องแน่นแนะนำขันปอนด์
5.มอเตอร์สวิง(Slewing
Motor) ต้องทำงานปรกติ หมุนไปทางเดียวกัน ระบบเบรคใช้งานได้
ผ้าเบรคไม่หมด ไม่บางจนเกินไป น้ำมันเกียร์ต้องไม่รั่ว
6.ตู้ควบคุมหรือตู้ขับ(Cabin) ต้องไม่ผุ มีเบาะและพนักพิงที่สะดวกสบายต่อผู้ขับ คันโยกบังคับ(Joy
Stick) ต้องทำงานได้อย่างปรกติ ไม่ค้างหรือหลวมคลอน
ทัศนวิสัยในการมองต้องดี
7.หัวจั่ว(Cat
Head) ต้องไม่บิดเบี้ยว จากการกระแทกของบูม(สำหรับบูมกระดก)
รอกหัวจั่วตลับลูกปืนไม่แตก ร่องของรอกไม่สึกจนเกินไป
ทางเดินหรือบันไดต้องเรียบร้อย
8.บูมท้าย(Counter
Jib) ต้องมีราวกันตก
9.ลูกปูนถ่วงท้าย(Counter
Weight) ต้องตรวจเช็คว่าได้ใส่ครบจำนวนตามคู่มือกำหนด
ลูกปูนไม่กระเทาะหรือแตก สลักยึดต้องเรียบร้อย
10.ชุดตัวยก(Hoisting
Unit) ต้องทำงานปรกติ น้ำมันเกียร์ไม่รั่ว
การยกหรือวางของต้องไม่กระชากหรือข้ามสปีด การเบรคต้องอยู่ไม่ไหล
11.สลิงตัวยก(Hoist
Wire Rope) สลิงต้องมีสภาพปรกติ ไม่แตกเกลียว
มีการทาน้ำยาสลิงป้องกันสลิงขึ้นสนิม การเรียงตัวของสลิงในดัมไม่มีการปีนเกลียว
12.บูมหน้า(Front
Jib) บูมหน้ามีการใส่สลักครับ ใส่ปิ้นล๊อค
โครงสร้างปรกติหรือไม่ เป็นต้น
13.สลิงเดินรอก(Wire
Rope Travelling) ต้องมีสภาพปรกติ ไม่แตกเกลียว
14.สลิงตั้งบูม
นอนบูม(Luffing Wire Rope, สำหรับ Luffing
Crane) ต้องมีสภาพปรกติ ไม่แตกเกลียว
การเรียงตัวในดรัมไม่มีการปีนเกลียว
15.ชุดตะขอตัวยก(Hook Block) รอกไม่ฉีกขาด ร่องปรกติ ตลับลูกปืนไม่แตก ตะขอไม่อ้า
มีการใส่อุปกรณืป้องกันสลิงหลุดออกจากตะขอ(Safety Latch)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น